วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปแบบฝึกหัดบทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ

สรุปบทที่ 4ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
            แนวคิดและองค์ประกอบ
            ในส่วนแนวคิดและองค์ประกอบ ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการตัดสินใจจะอธิบายแยกเป็น 2 หัวข้อ คือ แนวคิด และองค์ประกอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1.แนวคิด
            ปัจจุบัน องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศ มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการใช้งานต่ำ เช่น คอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายทางอินเทอร์เน็ตจึงก่อเกิดระบบสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ
            แต่อย่างไรก็ตาม  องค์การยังตระหนักถึงการนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้ความถูกและแม่นยำขึ้นไม่ว่าจะมีการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรธุรกิจ  การตลาด การเงินและการจัดการทั่วไปโดยสนองความต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเพื่อมาใช้งานกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
            2.องค์ประกอบ
            2.1ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งพร้อมสำหรับให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
            2.2การสื่อสาร หมายถึง    เครื่องที่ด้านการสรรหาข้อมูลจากแหล่งของมูลต่างๆและส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมายเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
            2.3เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
            2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง   กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวนผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ทันที
            2.5  การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง  กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่ส้องคลองกับกลยุทธ์ธุรกิจ  ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้นตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลาด้วย
            การจัดการ
            1.แนวคิดและความหมาย
            รอบบินร์และคูลเทอร์   (Robbins &  Couiter ,2003 , หน้า 2 )ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ (Management) กระบวนประสานงาน  เพื่อช่วยบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
            (Effciency)  และประสิทธิผล (Effective) โดยใช้หลักการวัดผล ดังนี้
            ประสิทธิภาพ
            ประสิทธิผล
            สำหรับฟังก์ชันชันด้านการจัดการ สามารถจำแนกได้  5 ประการ
            1.การวางแผน
            2.การจัดองค์การ
            3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน
            4.การนำ
            5.การควบคุม
            2.ผู้จัดการและผู้บริหาร
            2.1ผู้บริหารระดับสูง    ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง  โดยรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)โดยจัดทำแผนระยะยาวที่กำหนดทิศทาง เป้าหมาย ทรัพยากรและนโยบายขององค์การ
            2.2 ผู้จัดการระดับกลาง   ผู้ที่ปฏิบัติงาน และรับผิดชอบสำหรับด้านการจัดการเชิงกลวิธี
(Tactical  Management) โดยจัดทำระยะปานกลาง ที่สอดคล้องแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนนั้น
            2.3  ผู้จัดการระดับล่าง   ผู้ที่ปฏิบัติงาน และรับผิดชอบสำหรับด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ(Operational Management)โดยจะมีหน้าควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในแต่ส่วนงานให้ไปตามเชิงกลวิธี โดยจัดทำแผนปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นแผนระยะสั้น แผนมักเน้นถึงการสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม
            การตัดสินใจ
            1.แนวคิดและความหมาย
            การตัดสินใจ กระบวนการที่ใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการด้านต่างๆ ของธุรกิจ ตามลำขั้นตอนดังนี้           
            ขั้นตอนที่   1 ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
            ขั้นตอนที่  2 เลือกวิธีการแก้ปัญหา
            ขั้นตอนที่  3   เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ
            ขั้นตอนที่  4   ระบุทางที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ
            ขั้นตอนที่ 5   ประเมินข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
            ขั้นตอนที่ 6   เลือกและปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
            2.แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
            Stair and  Reynolds (2006,p.455) ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert   Simon)  ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นอัจฉริยะ ขั้น ออกแบบ และ ขั้นตัวเลือก
            3.จำแนกประเภท
            3.1การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันทุกวันลักษณะเป็นงานประจำ (Routine  Work) สามารถเข้าใจได้ง่ายซึ่งมักนำมาใช้กับการทำงานของระดับล่างในองค์การ
            3.2การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่มักใช้กฎเกณฑ์เพียงบางส่วนการตัดสินใจจึงต้องอาศัยวิจารณญาณเข้าช่วย   ร่วมการใช้สารสนเทศช่วยตัดสินใจมักใช้กับการทำงานผู้จัดระดับกลางในองค์การ
            3.3การตัดสินแบบไม่มีโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เคยเกิดบ่อยนัก  ไม่เป็นงานประจำ  ไม่มีกรอบการทำงาน  และไม่สามารถสร้างแบบจำลองในการแก้ปัญหาแต่ใช้วิจารณญาณช่วยในการตัดสินใจ
            4.รูปแบบการตัดสินใจ
            4.1 ระดับบุคคล     เป็นระดับการตัดสินใจ  ในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้ (Cognitive Style) สามารถเลือกแนวทางปฏิบัติการประเมินค่าผลที่ตามได้ 2 รูปแบบ
            รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ (Systematic) การใช้วิธีศึกษาปัญหาอย่างระเบียนแบบแผน
            รูปแบบที่ 2   การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก ( Intuitive Decision  Making )การใช้วิธีหลายรูปแบบมาผสมผสานกัน
            4.2ระดับองค์   เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายองค์การโดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญแบ่งรูปแบบการตัดสินใจในระดับเป็น  3 รูปแบบ
            รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ (Bureaucratic Model of Decision Making)
            รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง (Political Model of Decision
            รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ (Garbage can  model)
            กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ

            เริ่มตั้งแต่ระบบคอมพิวเตอร์  ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานทั่วไปของธุรกิจ  โดยมุ่งเป้าหมายด้านการลงทุน และการสร้างวิธีการทำงานประจำอย่างอัตโนมัติ  Stair  and  Reynolds(2006, p. 25)ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า  ระบบประมวลผลธุรกรรม  หรือ ทีพีเอสคือชุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น องค์การจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อระบบทีพีเอสกับระบบสารสนเทศอื่นๆ เช่น ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร  ระบบจัดการโซ่อุปทานและระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบมากยิ่งขึ้น
            2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            Laudon and Laudon (2005, p. 46)ได้ให้นิยามไว้ว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเอ็มไอเอส หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป  ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งเน้นที่การตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การ มากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกการ
เอ็มไอเอส (MIS)เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแก่องค์กรธุรกิจสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง  ต่อบุคคลที่ถูกต้อง  ใช้รูปแบบการนำเสนอที่ถูกต้องและถูกเวลาโดยจุดมุ่งหมายของระบบ
              3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
              3.1แนวคิดและความหมาย  Stair and Reynoleds(2006, p. 27)ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือดีเอสเอส คือ  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องโดยจุดมุ่งหมายก็คือ   การตัดสินใจอย่างประสิทธิผล  โดย เอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่างๆ  ให้ถูกต้อง (Do Thing Right)  แต่ดีเอสเอสต จะช่วยผู้จัดการเลือกที่ถูกต้อง (Do The Right Thing) จากตัวอย่างของร้านหนังสือออกซ์ฟอร์ด ซึ่งต้องอยู่ที่กรุงกัลกัตตา  ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางอินเทอร์เน็ต เพื่อยินยอมผู้รักการอ่านหนังสือในประเทศอินเดียเลือกหนังสือที่ตนชอบ ณ ร้านค้าปลีก หรือซื้อผ่านเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตซึ่งเว็บไซต์นี้จะบรรจุสารสนเทศที่ทรงคุณค่าการตัดสินใจเลือกซื้อหนังที่ดีขึ้นของลูกค้า
            เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  มีหลายประการ ดังนี้
            1.ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ๆ
            2.การดำเนินธุรกิจ ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ
            3.หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความติองการที่หลากหลายของบริษัทหรือแม้แต่ความต้องการสอบถามข้อมูลในทันทีของผู้บริหาร
            4.เกิดจากความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย (End-User Computing)
            3.สมรรถภาพของระบบ   Turban  et al. (2006,p.466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ
            1.สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม
            2.สามารถใช้ดีเอสเอส ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงความสัมพันธ์และเชิงลำดับขั้น
            3.สามารถใช้ดีเอสเอสทุกๆ   ระยะกระบวนการตัดสินใจ
            4.ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้ภายใต้และสภาพการณ์ที่เปลี่ยนในช่วงขณะนั้น
            5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง   และสามารถใช้สำหรับหลายกรณี
            6.ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคต
            7.ระบบที่ช่วยประกอบตนแบบเชิงปริมาณ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ ภายใต้การจัดการความรู้ โดยการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากๆ
            9.ระบบอาจถูกแพร่กระจ่ายการใช้งานผ่านเว็บ
            10.ระบบอาจถูกใช้การสนับสนุนการปฏิบัติการ ด้านการวิเคราะห์ความไว วึ่งการใช้ตัวแบบทางคณิตสาสตร์และตัวแบบอื่นๆ
            3.3ลักษณะเฉพาะของระบบ  หลักเกณฑ์พิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของดีเอสเอสมี 3 ข้อ คือ 1.การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity  Analysis) การวิเคราะห์เพื่อค้นหาเป้าหมาย(Goal Seeking) และการจำลอง (Simulation)
            3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ   Turban  et al. (2006,p.466)  ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอสอย่างน้อยที่สุด  ควรจะต้องประกอบด้วย ระบบจัดการข้อมูล (Data management System)ระบบจัดการตัวแบบ (Model Management System)ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface ) และผู้ใช้ขั้นปลาย (End User) ในส่วนดีเอสเอสชั้นสูงจะประกอบด้วยระบบจัดการความรู้(Knowledge Management System)
            4.ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
            4.1วิสัยทัศน์ จากที่กล่าวแล้วว่า อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งความแตกต่างจากดีเอสเอสในด้านการใช้งานดีเอสเอสมักถูกใช้เพื่อสนับสนุนการจำลองที่หลากหลายรูปแบบตลอดจนการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่างๆ
            4.2 คุณลักษณะ อีเอสเอสประกอบคุณลักษณะทั่วไป ดังนี้
            1.เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งโดยผู้บริหารบุคคล
            2.เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
            3.เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
            4.เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์กร มีคุณค่าต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
            5.เป็นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน และยังเป็นมือช่วยวัดความเสี่ยงสำหรับการตัดสินใจด้วย
            6.เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององกร และผลลัพธ์ของการหนึ่ง
            7.เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูลเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
            4.3 สมรรถภาพของระบบ
            4.3.1การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การกำหนดวิสัยทัศน์ของการ
            4.3.2การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์
            4.3.3การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การและการจัดคนเข้าทำงาน
            4.3.4การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์
            4.3.5การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤต
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น