วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 3

แบบฝึกหัดบทที่ 3
1 วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คืออะไร
ตอบ การวางแผนเชิงกลยุทธ์  ก็เพื่อนำมาใช้สำหรับสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน และทราบถึงระบบสารสนเทศที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาตามลำดับก่อน หลัง โดยมีการกำหนดแผนในระยะสั้นและระยะยาว
2 จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ตอบ แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องการทำเพื่อคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศที่กำลังได้รับการพัฒนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จากแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอาทิเช่น ชิปอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยเก็บ สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์แบบควอนตันนาโนเทคโนโลยี ซึ่งยังมีแนวโน้มของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายในหลากหลายรูปแบบ อาทิ อินเทอร์เน็ตและเว็บ อินทราเน็ต เอกซ์ทราเน็ต คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และการพาณิชย์เคลื่อนที่ ศูนย์รวมวิสาหกิจ  ที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ในอนาคต เป็นต้น

3 จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซ
ตอบ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่นิยมนำมาใช้ในแผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ซนั้นมักใช้ในองค์การที่เล็งเห็นความสำคัญในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลและการเรียกใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในอนาคตยังมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงวัตถุและฐานข้อมูลหลายมิติมาใช้งานทางธุรกิจร่วมกับเทคโนโลยีโกดังข้อมูล และเทคโนโลยีเหมืองข้อมูลเป็นต้น
4 หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยงานต่างๆ ในสำนักงานในรูปของสำนักงานอัตโนมัติ เช่น งานสารบรรณ งานจัดทำเอกสารและจัดส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) งานแฟ้มเอกสาร งานบันทึกการนัดหมายผู้บริหาร ในรูปแบบ IT Office เป็นต้น
5 จงระบุถึง ผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับ อันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
ตอบ ประโยชน์ที่องค์การจะได้รับ จากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจคือ การติดต่อสื่อสารที่ดี และการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยลง และก่อให้เกิดสภาพสำนักงานไร้กระดาษ และเพิ่มศักยภาพในการทำงานของแต่ละบุคคลได้ ทั้งยังเป็นการธำรงรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขันในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต และการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การในสายตาของผู้บริโภค
6 การจัดซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
ตอบ 1 ระบบพร้อมสรรพ คือ ซอฟต์แวร์ที่จะได้รับการพัฒนาอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์และผ่านการทดสอบโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว จึงพร้อมที่จะติดตั้งใช้งานได้ทันที
2 ระบบแกนหลักคือ ซอฟต์แวร์ประกอบด้วยโครงสร้างของระบบพื้นฐานโดยมีการวางโปรแกรมตรรกะของการประมวลผลใช้ล่วงหน้า และผู้ขายจะต้องทำการออกแบบในส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า



7 ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอก เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร
ตอบ ในการใช้บริการภายนอก (Outsourcing) เป็นรูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ มักจัดอยู่ในรูปแบบของการสนับสนุนจากผู้ขาย ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้น โดยผ่านการออกแบบ การทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า  ทางเลือกของระบบนี้คือ งานบริการทางกฎหมาย ที่มีความต้องการของระบบที่ซับซ้อน และไม่จำเป็นต้องสงวนรักษาพนักงานซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ ในส่วนของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะอยู่ภายใต้วัฏจักรการพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นการใช้ทีมงานพัฒนาระบบจากภายนอกองค์การ
8 วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
ตอบ วิธีการพัฒนาระบบทั้ง 5 วิธี ไม่ว่าจะเป็น วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ ล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับวิธีจากบนลงล่างทั้งสิ้น
9 วิธีการพัฒนาระบบแบบใด ที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้การพัฒนาระบบมากที่สุด
ตอบ วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว
10 เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
ตอบ เพราะวิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายโดยมีรูปแบบดังนี้คือ แบบอนุรักษ์ แบบตรวจทาน และรูปแบบเหลื่อม ซึ่งทั้งสามเป็น รูปแบบใช้ขั้นตอนของวัฏจักรการพัฒนาระบบมาประยุกต์ใช้กับแบบจำลองทั้ง สามรูปแบบ
11 เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบ และมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
ตอบ เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูล เป็นเครื่องมือ ที่นิยมนำมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกกับกระบวนการ ที่บ่งชี้ถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ แต่ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีประมวลผลของระบบ  ซึ่งแผนภาพกระแสเป็นเอกสารที่มักถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกัน อีกทั้งยังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

12 จงเขียนแผนภาพกระแสงานของระบบนักเรียนนักศึกษา ในส่วนของ การลงทะเบียนเรียนการเข้าชั้นเรียน ตลอดจนการวัดและประเมินผลการเรียน
            ตอบ

,ที่มา นางสาวรมฤดี เกษแก้ว เลขที่ 3 สาขา การจัดการ SME

สรุปบทที่ 5 เรื่อง ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

สรุปบทที่ 5  ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
            ระบบสารสนเทศเพื่อทรัพยากรมนุษย์ เป็นเครื่องมือหนึ่งของการนำเสนอสารสนเทศเพื่อใช้ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเชิงกลยุทธ์ เชิงกลวิธี เชิงปฎิบัติการ โดยทีการปรับกระบวนการทางธุรกิจ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ ทั้งในด้านการบริหารและการควบคุมด้านต่างๆ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์
 1.แนวคิดและความหมาย
            สุวิมล  สิริทรัพย์ไพบูลย์ (2545, หน้า213) ได้ให้คำจำกัดความของการบริหารบุคคลและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ไว้ว่าการบริหารงานบุคคลหมายถึงกระบวนการในการสรรหาคัดเลือกและบรรจุบุคคลที่เหมาะสมเข้าทำงานในองค์การในจำนวนที่เพียงพอและเหมาะสมรวมทั้งการบำรุงรักษาด้วยการเพิ่มพูลความรู้ความสามารถให้ทันสมัยอยู่เสมอซึ่งมักจะถือเป็นกระบวนการการที่ทีความเกี่ยวข้องกับบุคคลตั้งแต่ก่อนบรรจุเข้าทำงานจนกระทั้งเกษียณอายุตลอดจนการให้ออกจากงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์
            2.1 หลักความรู้  บุคคลที่เข้ามาปฎิบัติหน้าที่ในองค์การจะต้องศึกษาหาความรู้ (Knowledge) เพิ่มเติมอยู่เสมอหากผู้ใดพัฒนาตนเองให้ตรงตามคุณสมบัติของตำแหน่งในสายอาชีพที่องค์การกำหนดไว้
            2.2 หลักความสมารถ  บุคคลทุกคนล้วนมีคุณค่าต่อองค์การเสมอแต่หากบุคคลใดสามารถ (Competence) สร้างผลงานที่มีมูลค่าสูงสุดบุคคลนั้นจะเป็นผู้ทีคุณค่าสูงสุดด้วย
            2.3หลักความมั่นคงเป็นหน้าที่ขององค์การ ที่ต้องการทำให้บุคลากรเป็นผู้มีความมั่นคง (Security) ในงานอาชีพ
            2.4 หลักความเป็นกลางจากการเมือง  ที่องค์การมีผู้มีอิทธิพลและมีตำแหน่งหน้าที่สูงกว่าผู้อื่นหรืออาศัยความเป็นเครือญาติเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
                        2.4.1การสรรหา
                        2.4.2การพัฒนา
                        2.4.3การธำรงรักษา
                        2.4.4การใช้ประโยชน์

3.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
2.ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงานตลอดจนสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดี
3.บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตนเองทั้งในส่วนความรู้ความสามารถและประสบการณ์การทำงาน
4.บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับจึงมีขวัญกำลังใจในการทำงาน
5.บุคลากรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและมีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
6.องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงานและดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
7.องค์กรมีโอกาสที่พัฒนาความร่วมมือความร่วมใจในการทำงาน
8.สังคมอยู่ได้อย่างสันติเนื่องจากบุคคลในสังคมมีรายได้จากกานทำงาน
9.ประเทศชาติมีฐานะที่ดีขึ้นเพราะองค์กรเติบโตอย่างมั่นคง
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1.ระบบวางแผนอัตรากำลังคน
            ระบบวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning) ถูกใช้เป็นเครื่องมือกำหนดความ บุคลากรขององค์การในส่วนของอัตรากำลังคนและคุณสมบัติของบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของแต่ละงานจึงทำการพยากรณ์ถึงความต้องการของบุคลากรในอนาคตซึ่งความสอดคล้องกับอุปทานที่มีอยู่ในตลาดแรงงาน ณ ช่วงเวลานั้นโดยคำนึงถึงสภาพการทางเศรษฐกิจค่าใช้จ่ายและเทคโนโลยีที่ใช้ตลอดจนความมั่นคงในการรายงานอาชีพของบุคลากรด้วย
2.ระบบวิเคราะห์งาน 
            ครอบคลุมถึงกระบวนการด้านวิเคราะห์งาน (Job  Analysis) และควบคุมตำแหน่งงาน (Position  Contol) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องของการวางแผนอัตรากำลังคนซึ่งเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกส่วนหนึ่ง
3.ระบบสรรหาและคัดเลือก
            ครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการสรรหาและคัดเลือกก่อนที่จะบรรจุเข้าทำงานซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการวิเคราะห์งาน การคุมตำแหน่ง โดยรับข้อมูลบัญชีรายชื่องานว่าง คุณลักษณะเฉพาะงานของตำแหน่งงานที่ว่างมาทำการวางแผนเพื่อปฏิบัติการสรรหา โดยในแผนจะระบุถึงตำแหน่งงานและทักษะที่ต้องการสำหรับตำแหน่งนั้น
4.บุคลากร
            ครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการบรรจุเข้าทำงาน (Job  Placement) การทะเบียนประวิติบุคลากรและการบันทึกเวลาเข้าออกซึ่งสารสนเทศที่ได้จากระบบบุคลากรจำเป็นต้องใช้ตลอดอายุการทำงานของบุคลากรแต่ละคน
5.ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน
            ครอบคลุมถึงกระบวนการด้านการจ่ายค่าและเงินเดือน รวมทั้งการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยที่ระบบจ่ายค่าจ้างและเงินเดือนแต่ละองค์การอาจแตกต่างกันไปและเงื่อนไขในการคิดคำนวณรายได้สุทธิเพื่อนำมาคำนวณเดือนจ่ายบุคลากรก็อาจแตกต่างกันแต่นโยบายด้านการจ่ายค่าจ่ายเงินเดือนของแต่ละองค์กร
6.ระบบประเมินผลปฏิบัติงาน
            ครอบคลุมถึงกระบวนกานด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานและปรับเงินในขั้นพื้นฐานตลอดจนนำสารสนเทศที่ได้มาเป็นข้อมูลเข้าของการพัฒนาและฝึกอบรมการเลื่อนชั้นตำแหน่งหรือแม้กระทั่งการโยกย้ายงานไปปฏิบัติหน้าที่ในตำตำแหน่งอื่นวิธีการประเมินงานการปฏิบัติงานที่แต่ละองค์องค์การเลือกใช้อาจแตกต่างกันไป
7.ระบบพัฒนาและฝึกอบรม
            ครอบคลุมถึงการในส่วนการจัดทำแผนการพัฒนาและฝึกอบรมทั้งการดำเนินการและฝึกอบรมบุคลากรโดยจะถือเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร ให้เป็นผู้มีความรู้และสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ
8.ระบบสวัสดิการและผลประโยชน์
            ครอบคลุมถึงกระบวนการวางแผนสวัสดิการและผลประโยชน์ของบุคลากรและการจ่ายค่าสวัสดิการบุคลากรตลอดจนผลประโยชน์อื่นซึ่งนอกจากค่าจ้างแรงงานเพื่อเป็นการธำรงรักษาบุคลากรให้มีขวัญกำลังใจการทำงานและการปฏิบัติด้านอย่างเป็นความรู้และความสามารถโดยค่าใช้จ่ายสวัสดิการอาจอยู่ในรูปแบบของค่ารักษาพยาบาลค่าเล่าเรียนบุตรค่าเครื่องแบบและเงินให้กู้เป็นต้น




เทคโนโลยีการบริหารทรัพยากรบุคคล
1.โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Software) คือซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ตลาดซอฟแวร์สารสนเทศซึ้งผู้พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และจำเป็นต้องใช้อารมณ์ระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
            1.1โปรแกรมบันทึกเวลาการทำงาน
            1.2โปรแกรมจ่ายเงินเดือน
            1.3โปรแกรมด้านบริหารทุนด้านมนุษย์
2.การใช้อินทราเน็ต   อินทราเน็ตคือระบบเครือค่ายที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะภายในองค์การการพัฒนาอินทราเน็ตตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินเทอร์เน็ตและเวิลต์ไวต์เว็ป จึงถือเป็นข้อได้เปรียบในแง่ที่ว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะมีความคุ้นเคยและเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอยู่บ้างแล้ว เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศขององค์การ (Stair & Reynold,2006,t.326)
3.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอินทรอเน็ต   นอกจากการใช้งานอินทราเน็ต ซึ่งเป็นการสื่อสารเฉพาะภายในองค์การเท่านั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังจำเป็นต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกองค์การด้วย เช่น ผู้สมัครงานสถาบันการศึกษา สำนักจัดหางาน สหภาพแรงงาน ตลอดองค์การคู่แข่งขันทางธุรกิจอินเทอร์เน็ตคือเทคโนโลยีใช้สำหรับการสื่อสารและการประสานงานระหว่างบุคคลภายในและภายนอกองค์การโดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อรับรองกระบวนการทำงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เว็บศูนย์รวมด้านทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์รับสมัครงาน บริการว่าจ้างงานออนไลน์ และบริการฝึกอบรมออนไลน์ เนื่องจากนี้ผู้บริหารสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสื่อสารกับบุคลากรจำนวนมากซึ่งอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้ภายในเวลาอัตราเร็วซึ่งอธิบายแย่งหัวข้อ
            3.1การจัดองค์การเสมือนจริง
            3.1.1การประชุมทางไกล
            3.1.2การประชุมผ่านวีดิทัศน์
            3.2การสรรหาอิเล็กทรอนิกส์
            3.3เว็บศูนย์รวมด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์
            3.4การประเมินผลการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์

แบบฝึกหัดบทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและตัดสินใจ

 แบบฝึกหัดบทที่ 4
1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบประมวลผลธุรกรรมหรือทีพีเอส คือ จุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการเป็นต้นซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ เอ็มไอเอส คือระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่า ระดับกลางเพื่อนำเสนอรายงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกรวมกัน
2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ นำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ในการโฆษณาเป็นต้น
3. หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด
ตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเป็นระบบที่มีโครงสร้างทางการจัดการที่ดีเหมาะสำหรับที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพราะถ้าหากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบนี้เกิดตายไประบบก็ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ อีกทั้งยังใช้ในด้านการติดตาม งานระบบที่ซับซ้อนได้และสามารถพัฒนาแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกด้วย
4. ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่อการประมวลผลสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
5. จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม
ตอบ       1. การรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Packet – switched
            2. บริการโทรสาร
            3. บริการเปลี่ยนรหัสหรือรูปแบบข้อมูลเป็นต้น
6. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย
ตอบ เนื่องจากในปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมากมนุษย์ล้วนแล้วแต่หาสิ่งที่นำพาความสะดวดสบายมาใช้ในชีวิตประจำวันเปรียบได้เสมือนกับธุรกิจที่จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะได้นำสินค้าหรือบริการออกมาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ
7. การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มีความเกี่ยวข้องกันคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ คือ การนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีความถูกต้องแลแม่นยำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางด้านไหนก็ตามซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นการทำธุรกรรมด้านต่างๆโดยอาศัยระบบสารสนเทศมาช่วยในการทำธุรกิจเช่นกัน
8. บทบาทของผู้บริหารด้านข้อมูลข่าวสารและด้านการตัดสินใจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากในกรณีที่ผู้บริหารเกิดความต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะทำการตัดสินใจเลยไม่ได้จะต้องทำการศึกษาข้อมูลนั้นก่อนที่ทำการตัดสินใจ
9. เทคโนโลยีความจริงเสมือนมักถูกนำมาใช้กับงานด้านใดบ้าง
ตอบ มีการฝึกอบรมในหลายสาขา เช่น การทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ การศึกษาด้านเฮอร์โกโมฟิกส์ เป็นต้น
10. เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ
ตอบ เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มได้นำโปรแกรม จีดีเอสมาใช้ในการประชุมโดยที่ไม่ต้องระบุชื่อ ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงช่วยให้ผู้นำข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของการประเมิน
<!--[if !supportLineBreakNewLine]--> <!--[endif]-->

สรุปแบบฝึกหัดบทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ

สรุปบทที่ 4ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
            แนวคิดและองค์ประกอบ
            ในส่วนแนวคิดและองค์ประกอบ ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการตัดสินใจจะอธิบายแยกเป็น 2 หัวข้อ คือ แนวคิด และองค์ประกอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1.แนวคิด
            ปัจจุบัน องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศ มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนการใช้งานต่ำ เช่น คอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายทางอินเทอร์เน็ตจึงก่อเกิดระบบสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ
            แต่อย่างไรก็ตาม  องค์การยังตระหนักถึงการนำข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้ความถูกและแม่นยำขึ้นไม่ว่าจะมีการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรธุรกิจ  การตลาด การเงินและการจัดการทั่วไปโดยสนองความต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเพื่อมาใช้งานกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ
            2.องค์ประกอบ
            2.1ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งพร้อมสำหรับให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
            2.2การสื่อสาร หมายถึง    เครื่องที่ด้านการสรรหาข้อมูลจากแหล่งของมูลต่างๆและส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมายเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
            2.3เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
            2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง   กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวนผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ทันที
            2.5  การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง  กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่ส้องคลองกับกลยุทธ์ธุรกิจ  ตลอดจนสภาพแวดล้อมของธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้นตลอดจนการปรับปรุงแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลให้ทันสมัยตลอดเวลาด้วย
            การจัดการ
            1.แนวคิดและความหมาย
            รอบบินร์และคูลเทอร์   (Robbins &  Couiter ,2003 , หน้า 2 )ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ (Management) กระบวนประสานงาน  เพื่อช่วยบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
            (Effciency)  และประสิทธิผล (Effective) โดยใช้หลักการวัดผล ดังนี้
            ประสิทธิภาพ
            ประสิทธิผล
            สำหรับฟังก์ชันชันด้านการจัดการ สามารถจำแนกได้  5 ประการ
            1.การวางแผน
            2.การจัดองค์การ
            3.การจัดบุคคลเข้าทำงาน
            4.การนำ
            5.การควบคุม
            2.ผู้จัดการและผู้บริหาร
            2.1ผู้บริหารระดับสูง    ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง  โดยรับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)โดยจัดทำแผนระยะยาวที่กำหนดทิศทาง เป้าหมาย ทรัพยากรและนโยบายขององค์การ
            2.2 ผู้จัดการระดับกลาง   ผู้ที่ปฏิบัติงาน และรับผิดชอบสำหรับด้านการจัดการเชิงกลวิธี
(Tactical  Management) โดยจัดทำระยะปานกลาง ที่สอดคล้องแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนนั้น
            2.3  ผู้จัดการระดับล่าง   ผู้ที่ปฏิบัติงาน และรับผิดชอบสำหรับด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ(Operational Management)โดยจะมีหน้าควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในแต่ส่วนงานให้ไปตามเชิงกลวิธี โดยจัดทำแผนปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นแผนระยะสั้น แผนมักเน้นถึงการสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม
            การตัดสินใจ
            1.แนวคิดและความหมาย
            การตัดสินใจ กระบวนการที่ใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการด้านต่างๆ ของธุรกิจ ตามลำขั้นตอนดังนี้           
            ขั้นตอนที่   1 ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
            ขั้นตอนที่  2 เลือกวิธีการแก้ปัญหา
            ขั้นตอนที่  3   เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบจำลองการตัดสินใจ
            ขั้นตอนที่  4   ระบุทางที่ได้จากแบบจำลองการตัดสินใจ
            ขั้นตอนที่ 5   ประเมินข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก
            ขั้นตอนที่ 6   เลือกและปฏิบัติตามแนวทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
            2.แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
            Stair and  Reynolds (2006,p.455) ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ต ไซมอน (Herbert   Simon)  ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นอัจฉริยะ ขั้น ออกแบบ และ ขั้นตัวเลือก
            3.จำแนกประเภท
            3.1การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันทุกวันลักษณะเป็นงานประจำ (Routine  Work) สามารถเข้าใจได้ง่ายซึ่งมักนำมาใช้กับการทำงานของระดับล่างในองค์การ
            3.2การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวกับเรื่องที่มักใช้กฎเกณฑ์เพียงบางส่วนการตัดสินใจจึงต้องอาศัยวิจารณญาณเข้าช่วย   ร่วมการใช้สารสนเทศช่วยตัดสินใจมักใช้กับการทำงานผู้จัดระดับกลางในองค์การ
            3.3การตัดสินแบบไม่มีโครงสร้าง   เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เคยเกิดบ่อยนัก  ไม่เป็นงานประจำ  ไม่มีกรอบการทำงาน  และไม่สามารถสร้างแบบจำลองในการแก้ปัญหาแต่ใช้วิจารณญาณช่วยในการตัดสินใจ
            4.รูปแบบการตัดสินใจ
            4.1 ระดับบุคคล     เป็นระดับการตัดสินใจ  ในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้ (Cognitive Style) สามารถเลือกแนวทางปฏิบัติการประเมินค่าผลที่ตามได้ 2 รูปแบบ
            รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ (Systematic) การใช้วิธีศึกษาปัญหาอย่างระเบียนแบบแผน
            รูปแบบที่ 2   การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก ( Intuitive Decision  Making )การใช้วิธีหลายรูปแบบมาผสมผสานกัน
            4.2ระดับองค์   เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายองค์การโดยให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญแบ่งรูปแบบการตัดสินใจในระดับเป็น  3 รูปแบบ
            รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ (Bureaucratic Model of Decision Making)
            รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง (Political Model of Decision
            รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ (Garbage can  model)
            กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ

            เริ่มตั้งแต่ระบบคอมพิวเตอร์  ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานทั่วไปของธุรกิจ  โดยมุ่งเป้าหมายด้านการลงทุน และการสร้างวิธีการทำงานประจำอย่างอัตโนมัติ  Stair  and  Reynolds(2006, p. 25)ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า  ระบบประมวลผลธุรกรรม  หรือ ทีพีเอสคือชุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น องค์การจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อระบบทีพีเอสกับระบบสารสนเทศอื่นๆ เช่น ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร  ระบบจัดการโซ่อุปทานและระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบมากยิ่งขึ้น
            2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            Laudon and Laudon (2005, p. 46)ได้ให้นิยามไว้ว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเอ็มไอเอส หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป  ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งเน้นที่การตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การ มากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกการ
เอ็มไอเอส (MIS)เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแก่องค์กรธุรกิจสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง  ต่อบุคคลที่ถูกต้อง  ใช้รูปแบบการนำเสนอที่ถูกต้องและถูกเวลาโดยจุดมุ่งหมายของระบบ
              3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
              3.1แนวคิดและความหมาย  Stair and Reynoleds(2006, p. 27)ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือดีเอสเอส คือ  ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องโดยจุดมุ่งหมายก็คือ   การตัดสินใจอย่างประสิทธิผล  โดย เอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่างๆ  ให้ถูกต้อง (Do Thing Right)  แต่ดีเอสเอสต จะช่วยผู้จัดการเลือกที่ถูกต้อง (Do The Right Thing) จากตัวอย่างของร้านหนังสือออกซ์ฟอร์ด ซึ่งต้องอยู่ที่กรุงกัลกัตตา  ใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางอินเทอร์เน็ต เพื่อยินยอมผู้รักการอ่านหนังสือในประเทศอินเดียเลือกหนังสือที่ตนชอบ ณ ร้านค้าปลีก หรือซื้อผ่านเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตซึ่งเว็บไซต์นี้จะบรรจุสารสนเทศที่ทรงคุณค่าการตัดสินใจเลือกซื้อหนังที่ดีขึ้นของลูกค้า
            เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  มีหลายประการ ดังนี้
            1.ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ๆ
            2.การดำเนินธุรกิจ ภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ
            3.หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความติองการที่หลากหลายของบริษัทหรือแม้แต่ความต้องการสอบถามข้อมูลในทันทีของผู้บริหาร
            4.เกิดจากความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย (End-User Computing)
            3.สมรรถภาพของระบบ   Turban  et al. (2006,p.466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ
            1.สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม
            2.สามารถใช้ดีเอสเอส ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงความสัมพันธ์และเชิงลำดับขั้น
            3.สามารถใช้ดีเอสเอสทุกๆ   ระยะกระบวนการตัดสินใจ
            4.ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้ภายใต้และสภาพการณ์ที่เปลี่ยนในช่วงขณะนั้น
            5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง   และสามารถใช้สำหรับหลายกรณี
            6.ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคต
            7.ระบบที่ช่วยประกอบตนแบบเชิงปริมาณ ที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
            8.ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือ ภายใต้การจัดการความรู้ โดยการสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากๆ
            9.ระบบอาจถูกแพร่กระจ่ายการใช้งานผ่านเว็บ
            10.ระบบอาจถูกใช้การสนับสนุนการปฏิบัติการ ด้านการวิเคราะห์ความไว วึ่งการใช้ตัวแบบทางคณิตสาสตร์และตัวแบบอื่นๆ
            3.3ลักษณะเฉพาะของระบบ  หลักเกณฑ์พิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของดีเอสเอสมี 3 ข้อ คือ 1.การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity  Analysis) การวิเคราะห์เพื่อค้นหาเป้าหมาย(Goal Seeking) และการจำลอง (Simulation)
            3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ   Turban  et al. (2006,p.466)  ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอสอย่างน้อยที่สุด  ควรจะต้องประกอบด้วย ระบบจัดการข้อมูล (Data management System)ระบบจัดการตัวแบบ (Model Management System)ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface ) และผู้ใช้ขั้นปลาย (End User) ในส่วนดีเอสเอสชั้นสูงจะประกอบด้วยระบบจัดการความรู้(Knowledge Management System)
            4.ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
            4.1วิสัยทัศน์ จากที่กล่าวแล้วว่า อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งความแตกต่างจากดีเอสเอสในด้านการใช้งานดีเอสเอสมักถูกใช้เพื่อสนับสนุนการจำลองที่หลากหลายรูปแบบตลอดจนการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่างๆ
            4.2 คุณลักษณะ อีเอสเอสประกอบคุณลักษณะทั่วไป ดังนี้
            1.เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งโดยผู้บริหารบุคคล
            2.เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
            3.เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
            4.เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์กร มีคุณค่าต่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
            5.เป็นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน และยังเป็นมือช่วยวัดความเสี่ยงสำหรับการตัดสินใจด้วย
            6.เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององกร และผลลัพธ์ของการหนึ่ง
            7.เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูลเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
            4.3 สมรรถภาพของระบบ
            4.3.1การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การกำหนดวิสัยทัศน์ของการ
            4.3.2การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์
            4.3.3การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การและการจัดคนเข้าทำงาน
            4.3.4การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์
            4.3.5การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤต