วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่ 6 ระบบสารสนเทศทางการผลิต

สรุปบทที่ 6 ระบบสารสนเทศทางการผลิต
                ระบบสารสนเทศทางการผลิต นับเป็นเครื่องของการนำเสนอสารสนเทศการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศด้านการวางแผน การจัดการ การควบคุมการผลิตและการดำเนินงาน ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากกระบวนการผลิตซึ่งความต้องการสารสนเทศนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ล่ะองค์การ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม จะมีความต้องการที่แตกต่างกันไปจากธุรกิจบริการ หรือธุรกิจบริการโรงพยาบาลจะมีความต้องการสารสนเทศที่แตกต่างไปจากธุรกิจบริการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น
การจัดการการผลิตและการดำเนินงาน
                การผลิตและการดำเนินงาน  คือ กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ ซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างมูลค่าให้กับการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้ผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าส่งตรงถึงมือลูกค้าหรือผู้บริโภค
                1.แนวคิดและความหมาย
                การผลิตและการดำเนินงานคือ การนำทรัพยากรต่างๆ ทั้งด้านแรงงาน เงินทุน เครื่องจักร เทคโนโลยี วิธีการ วัตถุดิบ ความต้องการของตลาด การจัดการและเวลา ซึ่งรวมเรียนว่า  ปัจจัยการผลิต โดยผ่านกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายรวมถึงสินค้าและบริการ
                กระบวนการผลิต คือ กิจกรรมการแปรรู  ละเพิ่มมูลค่าให้กัปัจจัยการผลิตเพื่อเข้าสู่รูแบบของสินค้าหรือบริการซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าและในแต่ละกระบวนการผลิตจะประกอบด้วยกระบวนการผลิตหลายกระบวนการ
                2.วิวัฒนาการการผลิต
                ในระยะเริ่มต้นในการดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรม ธุรกิจส่วนใหญ่ดำเนินการผลิตบนพื้นที่การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง(Make-to-Stock) อย่างง่าย ซึ่งมีจุดเน้นด้านการผลิตสินค้าปริมาณมากและการผลิตเก็บสินค้าผ่านเครือข่ายของช่องทางการตลาดหลากหลายรูปแบบ มีการสร้างระบบข้อมูลที่ใช้ติดตามรอยการหมุนเวียนของสิ้นค้าคงเหลือ และทำให้ทราบถึงระดับของสิ้นค้าคงเหลือแต่ละรายการสำหรับงานการผลิต
                3.กลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงาน
                กลยุทธ์ที่ 1  การผลิตเก็บเป็นสินค้าคงคลัง  ธุรกิจจะมีการผลิตสินค้า เพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่พร้อมส่งมอบแก่ลูกค้าได้ทันที
                กลยุทธ์ที่ 2 การผลิตตามคำสั่ง ในการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้าโดยผลิตเป็นล็อต (Lot Production) ในปริมาณน้อย
                กลยุทธ์ที่ 3 การประกอบสินค้าตามคำสั่ง เป็นการประสินค้าส่วนมาตรฐานตามข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า

                4.หน้าที่ทางการผลิตและการดำเนิน
                หน้าที่การผลิตและการดำเนินนับเป็นปัจจัยสำคัญทางธุรกิจซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆที่ก่อให้เกิดผลผลิตในรูปแบบสินค้าหรือบริการจัดแบ่งหน้าที่เป็นสองด้าน คือ หน้าที่ด้านการผลิต หน้าที่ด้านโรงงานโดยแบ่งหน้าที่การผลิตได้
                4.1 การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์
                4.2 การออกแบบกระบวนการผลิต
                4.3 การวางแผนทำเลที่ตั้งโรงงาน
                4.4 การวางแผนการผลิตและการดำเนินงาน
                4.5 การจัดการวัสดุและสินค้าคงเหลือ
                4.6 การควบคุมคุณภาพสินค้า
                4.7 การลดต้นทุนการผลิตสินค้า
                4.8 การขจัดความสูญเปล่า
                4.9 ความปลอดภัยในโรงงาน
                4.10 การเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต
                4.11 การบำรุงรักษา
                4.12 การประสานงานกับหน่วยอื่น
                5.การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์
                การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Managemet ) หมายถึง การกำหนดกระบวนการบูรณาการเรื่องการวางแผน การจัดการ การผลิต การจัดส่ง และการคืนสินค้า โดยรับต้นตั้งแต่ผู้ขายทุกระดับจนถึงผู้ซื้อทุกระดับตลอดจนวางแนวทางต้านกลยุทธ์การปฏิบัติขององค์การซึ่งก่อให้เกิดการไหลของสินค้าตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
                6.ระบบการผลิตยุคใหม่
                6.1 ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี  แนวคิดทางการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและถือเป็นส่วนหนี่งของระบบการผลิตแบบโตโยต้า  ซึ่งยึดหลักสำคัญคือ ผลิตในจำนวนเท่าที่ต้องการในเวลาที่ต้องการและมีการควบคุมสินค้าคงเหลือให้เหลือน้อยที่สุด
                6.2 ระบบการผลิตแบบลีน เป็นระบบการผลิตที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าทำให้เกิดมาตรฐานที่มีประสิทธิภาพสูงและมุ่งขจัดความสูญเปล่าอันสืบเนื่องมากจากทางด้านคุณภาพราคาการจัดส่งสินค้าและบริการสินค้า
สารสนเทศทางการผลิต
                1.แนวคิดและความหมาย
                สารสนเทศทางการผลิต คือ สารสนเทศที่ได้รับจากการประมวลของระบบสารสนเทศทางการผลิตซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสานสนเทศทางภายในและภายนอกองค์การ
                2.การจำแนกประเภท
สารสนเทศการผลิตสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
                2.1สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ
                                2.1.1สารสนเทศด้านการดำเนินการผลิต
                                2.1.2สารสนเทศด้านการควบคุมคุณภาพ
                                2.1.3สารสนเทศด้านการแก้ปัญหา
                2.2 สารสนเทศด้านการบริหาร
                                2.2.1สารสนเทศด้านการออกแบบการผลิต
                                2.2.2สารสนเทศด้านการวางแผนการผลิต
                                2.2.3สารสนเทศด้านการจัดการโลจิสติกส์
                2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ
                                2.3.1สารสนเทศด้านผู้ขายวัสดุ
                                2.3.2สารสนเทศด้านการส่งวัสดุ
กระบวนการทางธุรกิจสารสนเทศ
1.การออกแบบการผลิต
                มีหน้าที่สำคัญของการผลิต คือ จะต้องมีการออกแบบการผลิตในแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องงานด้านการวางแผนและการดำเนินการผลิตซึ่งจำแนกระบบออกแบบได้ 2 กระบวนการ
                การออกแบบผลิตภัณฑ์
                การออกแบบระบบการผลิต
2.ระบบการวางแผนการผลิต
                2.1การวางแผนการผลิตรวม
                2.2การจัดตารางการผลิต
                2.3การวางแผนความต้องการวัสดุ
                2.4การวางแผนทรัพยากรการผลิต
3.ระบบการจัดการโลจิสติกส์
                3.1โลจิสติกส์ขาเข้า
                3.1.1การจัดหาวัสดุ
                3.1.2การตรวจรับวัสดุ
                3.1.3การควบคุมวัสดุ
                3.2การจัดการสินค้าคงเหลือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น