วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุป บทที่ 8 สารสนเทศทางการเงิน

บทที่ 8 สารสนเทศทางการเงิน
แนวคิดและความหมาย
O’brien  ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจ ในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ
Laudon and Laudon ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการทรัพย์สินด้านการเงิน เช่น เงินสด หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และการลงทุนอื่น ๆ เพื่อให้รับผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งแบ่งแกเป็น 3 ระบบย่อย ดังนี้
1. ระบบในระดับกลยุทธ์
2. ระบบในระดับบริหาร จัดหา
3. ระบบในระดับปฏิบัติการ
Stair and Reynolds ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่มีการนำเสนอสารนสนเทศทางการเงินให้แก่ผู้บริหารในองค์การ ตลอดจนกลุ่มบุคคลทั่วไปภายนอกองค์การที่จำเป็นต้องตัดสินใจรายวันทางการเงิน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1. รวบรวมสารสนเทศทางการเงินและปฏิบัติงาน
2. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ผ่านตัวกลาง คือ เว็บเพจทางอินทราเน็ต
3. เปิดโอกาสให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นตลอดเวลา
4. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้หลายมิติ
5. วิเคราะห์กิจกรรมทางการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบัน
6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน
การจัดการทางการเงิน
1. แนวคิดและความหมาย
เคียวน์, มาร์ติน, เพดดี และสก็อต  ได้ให้นิยามไว้ว่า การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงิน เพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่บริษัทและผู้ถือหุ้น
2. ขอบเขตงานทางการเงิน
มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์ พันธ์หอม  ได้จำแนกขอบเขตานทางการเงินออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
2.1 ตลาดการเงิน จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันทางการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่น ๆ โดยจำแนกเป็น
2.1.1 ตลาดเงิน คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารที่อายุไม่เกิน 1ปี
2.1.2 ตลาดทุน คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์ รวมทั้งตราสารที่อายุเกิน 1 ปี โดยจำแนกเป็น ตลาดแรกและตลาดรอง
2.2 การลงทุน เป็นการตัดสินใจการลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาว่าจะเป็นการซื้อขาย หรือการครอบครองสินทรัพย์
2.3 การเงินธุรกิจ เป็นการจัดการทางการเงินในองค์การ
3. หน้าที่ทางการเงิน
3.1 การพยากรณ์และการ
3.2 การจัดหาเงินทุน
3.3 การจัดการลงทุน
3.4 การจัดการเงินทุน
3.4.1 การจัดการสภาพคล่อง
3.4.2 การจัดการเติบโต
3.4.3 การจัดการความเสี่ยง
4. เป้าหมายทางการเงิน
4.1 กำไรสูงสุด มักจะเน้นถึงประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร โดยไม่คำนึงถึงการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างไร
4.2 ความมั่งคั่งสูงสุด มุ่งเน้นถึงมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น
5. การตัดสินใจทางการเงิน
5.1 การตัดสินใจด้านการลงทุน โดยเริ่มต้นจากการกำหนดทรัพย์สินที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ และจำนวนเงินลงทุนในทรัพย์สินทั้งหมดที่บ่งบอกถึงขนาดของบริษัท หลังจากนั้นจึงจำแนกส่วนประกอบของทรัพย์สินที่จำเป็นต้องมี
5.2 การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุน จำเป็นต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมี
2. แหล่งเงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน
5. ต้นทุนของเงินทุนแต่ละประเภท
5.3 การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล
สารสนเทศทางการเงิน
1. แนวคิดและความหมาย
สารสนเทศทางการเงิน หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนสารสนเทศด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และนโยบายทางการเงินของรัฐบาล โดยใช้สารสนเทศเหล่านี้สนับสนุนกิจกรรมทางการเงิน
2. การจำแนกประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการปฏิบัติงานด้านการรับและการจ่ายเงินสด การจัดหาและการใช้ทุน ตลอดจนการลงทุนในสินทรัพย์ ดังนี้
2.1.1 สารสนเทศด้านกระแสเงินสด ซึ่งบ่งบอกถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน รวมทั้งยอดคงเหลือของเงินสดในมือ โดยนำเสนอในรูปแบบวบกระแสเงินสด
2.1.2 สารสนเทศด้านเงินทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนไว้ใช้จ่ายในกิจการ ตลอดจนการใช้เงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยใช้สารสนเทศจากแหล่งข้อมูลภายนอก
2.1.3 สารสนเทศด้านการลงทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและการจัดการทางการเงิน
2.2.1 สารสนเทศด้านการพยากรณ์ทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ได้จากการคาดคะเนเหตุการณ์ทางการเงินในอนาคต ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
2.2.2 สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด คือ สารสนเทศที่ได้จากการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีต มาจัดทำแผนงบประมาณเงินสดที่เกี่ยวดับรายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคต เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ
2.2.3 สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน คือ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุนภายใต้โครงสร้างต่าง ๆ โดยมีการประมาณการกระแสเงินสดรับและจ่ายโครงการลงทุนในอนาคต
2.2.4 สารสนเทศด้านวิเคราะห์ทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ใช้สำหรับสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่าง ๆ ทางการเงิน โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยง
2.2.5 สารสนเทศด้านควบคุมทางการเงิน คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานด้านการควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบทางการเงิน
2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ คือ สารสนเทศที่ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ
2.3.1 สารสนเทศจากตลาดการเงิน คือ สารสนเทศที่ได้จากตลาดเงินและตลาดทุนที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินต่าง  
2.3.2 สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ คือ สารสนเทศที่หน่วยงานของรัฐบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมสภาวะทางการเงินภายในประเทศ รวมทั้งบทลงโทษต่อผูกระทำความผิด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบวางแผนทางการเงิน
                คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสม โดยมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนมีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ อีกทั้งยังต้องมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ซึ่งจำแนกได้เป็น3 ระบบย่อย ดังนี้
1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน
1.2 ระบบงบประมาณเงินสด
1.3 ระบบงบประมาณลงทุน
2. ระบบจัดการทางการเงิน
 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านประกอบกัน เพื่อการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ระบบย่อย ดังนี้
2.1 ระบบจัดหาเงินทุน
2.2 ระบบจัดการเงินทุน
2.3 ระบบจัดการเงินลงทุน
                2.4 ระบบจัดการเงินสด
3. ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน
เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงิน โดยเฉพาะในส่วนของการรับและจ่ายเงินสดภายในธุรกิจทั้งด้านการจัดหาสินทรัพย์ การลงทุน และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ โดยธุรกิจอาจใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคาร
4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน
 คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย Turban et al.  ได้ยกตัวอย่างรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเงิน 3 รูปแบบ คือ
4.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
                4.2 การวิเคราะห์กำไร
                4.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
 5. ระบบควบคุมทางการเงิน
คือ การที่ธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งาน ตลอดจนการฉ้อฉล Turban et al.  ได้จำแนกรูปแบบการควบคุมได้ ดังนี้
5.1 การควบคุมงบประมาณ
5.2 การตรวจสอบ
5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
เทคโนโลยีทางการเงิน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน
คือ ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ตัวอย่างเช่น
1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการทางการเงิน Turban et al.  ได้ยกตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 และแมส 200 ซึ่งมีการรวมมอดูลของระบบงานด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านการสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่จำเป็นระหว่างมอดูล
1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงบประมาณ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านงบประมาณ โดยอาจจะพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียมและการควบคุมงบประมาณ
1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำเข้าข้อมูลและประมวลผลค่าใช้จ่ายการเดินทาง และค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงรอบรับต่าง ๆ
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช
2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง โดยปกติของตลาดการเงินทั่วโลกจะมีความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชั่วโมง จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการกระจายด้านการแลกเปลี่ยนหุ้น
2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น รายงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศจึงต้องจัดทำบ่อยครั้งเท่าที่ผู้ใช้ต้องการ
2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุนงานด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายหุ้นกู้บนอินเทอร์เน็ต
2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศด้านการจัดการเงินสดอัตโนมัติ ซึ่งมีโมดูลของการรวบรวมเช็คต่างธนาคารเข้าด้วยกัน
2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงิน และการจ่ายชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีระบบสนับสนุนด้านบริการจ่ายชำระบิลค่าซื้อจากธุรกิจอื่นอย่างง่าย และระบบยังสามารถคำนวณ พิมพ์ นำเสนอบิลค่าซื้อต่อผู้ใช้บริการได้
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ การใช้บัตรเครดิตนี้เป็นผลดีต่อร้านค้าในกรณีที่สามารถลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้
3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์อีกรูปแบบหนึ่ง ซึง่ระบบจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ วิธีนี้สามารถลดความเสี่ยงจากการรับชำระหนี้และลดระยะเวลาเรียกเก็บเงินได้เป็นอย่างดี
3.4 เช็คที่ได้รับอัตโนมัติล่วงหน้า อาจนำมาใช้แทนตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บเงินที่รวดเร็วขึ้น
3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ ทุกครั้งที่มีการรับส่งเช็คอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย จะต้องมีการเข้ารหัสลับ และสามารถสืบหาผู้สั่งโอนเงินหรือตัดบัญชีได้
3.6 เงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจะทำการใส่วงเงินสู่กระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้า เมื่อใดมีการใช้เงินจะตัดเงินออกจากกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์นี้
3.7 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผลดี คือ ธุรกิจสามารถปรับปรุงการพยากรณ์ทางการเงินและการจัดการเงินสดที่ดีขึ้นได้
3.8 ระบบธนาคารศูนย์กลาง มักใช้สำหรับธุรกิจที่มีสำนักงานขายกระจายอยู่หลายแห่ง
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
4.1 ระบบเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ การตัดสินใจของผู้บริหาร จะต้องประเมินรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจของโลก ปัจจุบันมีการเปิดเว็บไซต์ให้ผู้ลงทุนสามารถใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน
4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน สามารถทำได้โดยใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ หรือโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เน้นการตัดสินใจทางการเงินโดยเฉพาะ หรืออาจมีการใช้ความเป็นจริงเสมือน
4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน คือ พื้นที่อีกด้านหนึ่งของการวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปฏิบัติการ โดยมีการวิเคราะห์ในทุก ๆ หน้าที่งานด้านการเงิน

1 ความคิดเห็น:

  1. Anecdotally, no one knows about a casino at Borgata, but
    › Borgata-Borgata-Borgata › Borgata-Borgata-Borgata Anecdotally, no one knows about a casino at Borgata, but — Anecdotally, no one knows about 동두천 출장샵 a casino at 전라북도 출장샵 Borgata, but — Anecdotally, no one knows about a casino at Borgata, but — Anecdotally, 정읍 출장마사지 no 논산 출장샵 one knows about a casino at Borgata, but 보령 출장마사지

    ตอบลบ