วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทที่3 เรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศ

สรุปบทที่  3   การพัฒนาระบบสารสนเทศ
                การวางแผนระบบสารสนเทศ
                1.แนวคิด
                การวางแผนระบบสารสนเทศคือการคาดการณ์ผลลัพธ์ของการนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อประกอบการดำเนินงานทางธุรกิจ
                2.กลยุทธ์ธุรกิจ
                การวางแผนระบบสารสนเทศมีความใกล้ชิดกับกลยุทธ์ธุรกิจ(Business Strategy) ซึ่งถูกบัรรจุเป็นสัญลักษณ์อักษรเป็นกลยุทธ์ขององค์การ
                2.1 ความหมาย  “กลยุทธ์”จะหมายถึงศาสตร์หรือศิลป์ที่ใช้ในการบังคับบัญชากองทัพ  ในเวลาต่อมา“กลยุทธ์”ไปใช้ในหลากหลายแนวทาง โดยเฉพาะในส่วนการดำเนินรุกของธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดของสภาพล้อมภายนอก
                2.2การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ
                ธุรกิจที่ประผลสำเร็จต้องการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพหรือสินค้าราคาต่ำ หรือทั้งสองอย่างให้กับลูกค้า
                3.กระบวนการวางแผน
                ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
                ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนสิ่งแวดล้อม
                ขั้นตอนที่ 3 การจับประเด็นกลยุทธ์
                ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดนโยบาย
                4.การวางแผนเชิงกลยุทธ์
                ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานสารสนเทศ
                ขั้นตอนที่ 2 การประเมินภาระแวดล้อม
                ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์
                ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดแนวทางกลยุทธ์
                ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดนโยบายสารสนเทศ
                ขั้นตอนที่ 6 การสร้างแผนระยะยาวและระยะสั้น
                                1 .แผนระยะยาว   เป็นแผนที่ใช้ในช่วงเวลา   3-5 ปีข้างหน้า
                                2. แผนระยะสั้น   เป็นแผนงานที่ใช้ในช่วงเวลา   1-2 ปีข้างหน้า
                ขั้นตอนที่ 7 การดำเนินการตามแผนระยะสั้นและระยะยาวที่วางไว้
               


การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                2 หัวข้อคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
                ซึ่งที่นิยมนำมาใช้ในธุรกิจ ซึ่งปกติองค์กรธุรกิจสมัยใหม่มีการใช้เทศโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย อันส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างองค์การให้แบนราบและลดระดับชั้นของการจัดการลงเพื่อประโยชน์ทางด้านสื่อสาร
                1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล
                1.3 เทคโนโลยีคอมเมิร์ช
                1.4 เทคโนโลยีทางด้านการชำระหนี้ค่าสินหรือบริการ
                1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล
                1.6 เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะที่สุด
                1.7 เทคโนโลยีไร้สาย
                1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน
                1.9 เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร
                2.แวนโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
                Turban et al. ( 2006 , p. 27) ได้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผู้บริหาร ขององค์การควรคำนึง เพื่อทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งจะใช้ระบบสารสนเทศที่กำหนดได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
                2.1ชิป   ปัจจุบันได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยเก็บควบคุมไปกับใช้คอมพิวเตอร์
                2.3 สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์   เป็นวัตกรรมใหม่ในส่วนการเขียนโปรแกรมและการใช้คอมพิวเตอร์ โดยส่งผลให้มีการลดต้นทุนการเขียนโปรแกรม
                2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง   ได้มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ชื่อ เอลิซา ซึ่งมีความสามารถในคำนวณด้วยความรวดเร็ว
                2.5คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม   มีการศึกษาค้นคว้า ซึ่งนำไปสู่การผลิตการผลิตหน่วยคำนวณที่เล็ก และหากการค้นคว้านี้ประสบสำเร็จ
                2.6นาโนเทคโนโลยี ในอนาคต อาจมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบจากโมเลกุที่ มีความเร็วสูงสุด ซึ่งโครสร้างแบบครัตัสมีขนาดเล็ก
               


การได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ
                1.การจัดซื่อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์
                รูปแบบที่ 1 ระบบพร้องสรรพ (Turnkey System)
                วอฟแวร์ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างเสร็จสมบูรณ์ และผ่านการทดสอบดปรแกรมเรียบร้อยแล้ว
                รูปแบบที่ 2 ระบบแกนหลัก (Outsourcing)
                วอฟแวร์ประกอบด้วยโครงสร้างของระบบพื้นฐาน   
                2.การใช้บริการภายนอก
                เป็นรูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์มักจัดอยู่ในรูปแบบของระบบสนับสนุนจากผู้ขายซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้น โดยผ่านการออกแบบ การทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า
                3.การพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในองค์การเอง
                การพัฒนาระบบ
                แนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในองค์การถือเป็นแนวทางที่อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบค่อนข้างสูง ภายในองค์การเองแต่ระบที่ได้มักตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ในส่วนนี้จะกล่าวถึงหัวข้อย่อย 3 หัวข้อ  ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ  วัฏจักรการพัฒนาระบบ
วิศวกรรมสารสนเทศ
                4.ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ
                4.1 กลยุทธ์ของธุรกิจ   ธุรกิจทำการกำหนดกิจกรรมการทำงานของระบบสารสนเทศให้มีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศและแผนกลยุทธ์ของธุรกิจ
                4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลกระทบที่มักเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
                4.3วัฒนธรรมองค์การ  ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ที่อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงาน
                เทคนิคใช้ภาพกระแสข้อมูล
                1.สัญลักษณ์ที่ใช้สร้างแผนภาพ 
                นิยมใช้สัญลักษณ์ที่ถูกคิดค้นโดย 2 กลุ่ม บุคคลซึ่งนำมากำหนดเป็นมาตรฐานแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้
                1.1 มาตรฐานของเกนและซาร์สัน ( Gane & sarson )
                1.2 มาตรฐานของดีมาร์โคและโยร์ดอน (Demarco & Yourdon)
                2.ระดับของแผนภาพ
                จะไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวแบ่งออก 3 ระดับ
                ระดับที่ 1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) โครงสร้างเริ่มแรกซึ่งเสดงให้ภาพรวมและขอบเบตของระบบงาน
                ระดับที่ 2 แผนภาพระดับหนึ่ง (First-level Diagram) โครงสร้างที่ใช้อธิบาย รายละเอียดของแผนภาพบริบทเปรียบเสมอกล่องดำ
                ระดับที่
3  แผนภาพระดับสอง (Second-level Diagram) โครงสร้างที่อธิบายในรายละเอียดของแผนภาพระดับหนึ่ง

                การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
            1.แนวคิด
               ธุรกิจจึงมีความจำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนทั้งในส่วนระบบฮาร์ดแวร์และระบบประยุกต์ให้มีความทันสมัย อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจภายใต้ยุกต์โลกาภิวัตน์
                2.กระบวนการจัดการ
                2.1 การวางแผน   จะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์องค์การ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ
                2.2 การจัดโครงสร้าง    การจัดโครงสร้างของหน่วยงานของนหน่วยงานด้านสารสนเทศอาจอยู่ในรูปของศูนย์คอมพิวเตอร์หรือฝ่ายระบบสารสนเทศ มีการกำหนดตัว ผู้รบริหารระดับสูงให้ดำรงตำแหน่งเพื่อควบคุมดูแลการทำการของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2.3การจัดลำดับงาน   เป็นเป้าหมายของการพัฒนาระบบ มักจะมีความสำคัญแต่งต่างกันจึงจำเป็นต้องจัดลำดับ ก่อน-หลัง ของระบบที่ต้องการพัฒนาตามความเป็น
                2.4  การควบคุม การควบคุมดูแลจะประกอบการมาตรฐานของอุปกรณ์ การพัฒนาระบบ การปฏิบัติ ความมั่นคงของระบบรวมทั้งการงบประมาณในส่วนของการจัดระบบสารสนเทศ
                2.5การสั่งการ ครอบคลุมถึงงานทุกด้านของระบบสารสนเทศ ภายใต้การสั่งการของผู้บริหารสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น ซึ่งปราศจากอุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น เป็นงานที่อาศัยประสบการณ์และความสามารถทางด้านสือสารของผู้บริหารอย่างจริง
                2.6 การรายงาย เป็นหน้าที่หน่วยงานด้านสารสนเทศ ในการจัดทำรายงานสรุปเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง
                2.7 การจัดทำงบประมาณ โดยมีการคาดคะเนค่าจ่าย เพื่อการเสนองบประมาณค่าใช้จ่ายด้านต่างๆทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประจำ หลังจากนั้นจึงควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินให้เป็นตามงบประมาณที่ตั้งไว้
                3.การจัดการทรัพยากรฮาร์ดแวร์
                4.การจัดการทรัพยากรซอฟต์แวร์
                5.การจัดการทรัพยากรข้อมูล
                6.การจัดการทรัพยากรระบบสื่อสารและเครือข่าย
                บุคลากรด้านสารสนเทศ
                1.หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ (Chief  Information Officer :CIO) ผู้บริหารระดับสูงขององค์การ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานด้านบริหารและระบบสารสนเทศและมีหน้ารับผิดชอบการวางแผน การกำหนดนโยบายการควบคุมปฏิบัติงาน
                2.นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst :SA) บุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบประยุทธ์ใช้งานในองค์การ
                3.ผู้เขียนคำสั่ง (Programmer) บุคลากรผู้ทำหน้าออกคำสั่ง เพื่อควบคุมงานปฏิบัติในระบบต่างๆ
                4.ผู้ควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Opertor) บุคลากรผู้ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
                5.ผู้จัดตารางเวลา (Scheduler) บุคลากรผู้ทำหน้าที่จัดสรรเวลาใช้เครื่องให้กับงานแต่ละงาน        
                6.บรรณารักษ์ (Libearian) บุคลากรที่ทำหน้าที่เก็บรักษาสื่อบันทึกซึ่งใช้ จัดเก็บข้อมูลและชุดคำสั่งระบบงาน  มีการจัดรายการและดรรชนี เพื่อให้การค้นหาข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว
                7.พนักงานบันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) บุคลากร ผู้ทำหน้าที่นำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้นมาจัดให้มาอยู่ในรูปแบบที่ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
                สรุป
                การพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นแนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศไว้ใช้งานภายในองค์ธุรกิจ โดยเริ่มต้นจากวางแผนระบบสารสนเทศ  เพื่อกำหนดถึงแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์กิจ จึงทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและนำมาใช้เพื่อปัญหาการดำเนินทางธุรกิจ  สร้างโอกาสทางธุรกิจ และธำรงรักษาความได้เปรียบทางการแข่งขังทางธุรกิจ ทำการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานภาพในองค์การหรือจัดจ้างองค์การภายนอกให้พัฒนาระบบให้ตามที่ต้องการ
      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น